ดลฤดี หนีทุน กว่า 24 ล้านบาท ต้องชดใช้ให้ ม.มหิดล-สกอ.
กรณีทพญ.ดลฤดี จำลองราษฎร์ หนีการชดใช้ทุนรัฐที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศด้านทันตกรรม จนศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จนล่าสุด ทันตแพทยสภามีมติเอกฉันท์ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม และตั้งอนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติกการเป็นสมาชิกทันตแพทยสภา! ซึ่งเงินที่ “ดลฤดี”ต้องชดใช้ให้รัฐ 2 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) กว่า 24 ล้านบาท !!!!
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ เลขาธิการทันตแพทยสภา เล่าย้อนถึงพฤติการณ์แห่งคดีนี้ว่า ทพญ.ดลฤดี ทำสัญญาชดใช้ทุน 3 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 ก่อนเดินทางไปศึกษาระดับป.โทและเอกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2537 ซึ่งสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2539 แต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2539 ได้ขอเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาในระดับปริญญาเอก และได้ขอลาออกจากราชการขณะที่ยังใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา จึงต้องชดใช้เงินแก่ มหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) 3 สัญญา แยกเป็น สัญญาการเป็นนักศึกษาเพื่อศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์ จำนวน 232,975 บาท สัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ จำนวน 1,847.206.44 บาท และสัญญารับทุนรัฐบาล(ทวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้นหรือสกอ.ในปัจจุบัน)จำนวน116,431.05 บาท และ 666,131.73 ดอลลาร์สหรัฐรวมกว่า 24 ล้านบาท และต้องชดใช้ภายใน30วัน
แต่ไม่มีการนำเงินไปชำระ ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์2549ให้ผู้ถูกฟ้องคดีต้องชดใช้เงินตามคำพิพากษาแต่ ทพญ.ดลฤดี มิได้ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าว ทำให้ผู้ค้ำประกันทั้งหมดได้รับความเดือดร้อนและต้องชดใช้เงินแทน
ในการดำเนินการของทันตแพทยสภา ทางคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณ เห็นว่าการกระทำของ ทพญ.ดลฤดี เข้าข่ายประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม ตามข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538หมวด1ข้อ2และข้อ3คดีมีมูลจึงส่งเรื่องให้อนุกรรมการสอบสวนดำเนินการ ความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวนเห็นว่า การกระทำของ ทพญ.ดลฤดี เป็นการประพฤติเสียหายนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพอันเป็นการขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกของทันตแพทยสภาตามมาตรา12 (3)แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537จึงเห็นสมควรให้เพิกถอนใบอนุญาตการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของ ทพญ.ดลฤดี
ผลการสอบสวนของอนุกรรมการสอบสวน พบว่า การที่ ทพญ.ดลฤดี มิได้ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวทำให้ผู้ค้ำประกันทั้งหมดได้รับความเดือดร้อนและต้องชดใช้เงินแทนตามคำพิพากษา ผู้ค้ำประกันบางท่านเป็นอาจารย์ที่เคยสอน ทพญ.ดลฤดี เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ บางท่านเป็นเพื่อนร่วมรุ่น เพื่อนร่วมวิชาชีพ ซึ่งไว้เนื้อเชื่อใจและยินยอมค้ำประกันให้ โดยหวังว่า ทพญ.ดลฤดีจะกลับมารับราชการใช้ทุนและทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ แต่กลับทำให้ผู้ค้ำประกันได้รับความเดือดร้อนต้องหาเงินมาใช้หนี้แทน
และเมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ผู้ค้ำประกันได้พยายามติดต่อให้ ทพญ.ดลฤดีมาชำระหนี้ แต่ ทพญ.ดลฤดีบ่ายเบี่ยงที่จะชำระหนี้ อ้างว่าไม่มีเงินทั้งที่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ จนกระทั่งมีการบังคับคดีกับผู้ค้ำประกัน ทพญ.ดลฤดี รับปากว่าหากจำหน่ายทรัพย์สินที่ต่างประเทศได้ จะนำเงินมาคืนให้ผู้ค้ำประกัน แต่เมื่อจำหน่ายได้กลับไม่นำเงินมาชำระหนี้ เป็นการหลอกลวงผู้ค้ำประกันให้หลงเชื่อ ถือเป็นการฉ้อโกง ถือได้ว่า พฤติกรรมของ ทพญ.ดลฤดี สร้างความเสื่อมเสียแก่วิชาชีพ ไม่มีความรับผิดชอบต่อสัคม ไม่เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ สร้างความเสียหายให้กับประเทศ ทันตแพทยสภาจึงมีมติให้เพิ่กถอนใบอนุญาตฯ
ทั้งนี้ ในขั้นตอนของการสอบสวนของอนุกรรมการ ได้มีการเชิญพยาน คือ ผู้ประคำ้ประกัน 4 คนมาให้ข้อมูล และเชิญทพญ.ดลฤดี ผู้ถูกกล่าวหามาให้คำให้การ โดยส่งหนังสือแจ้งไปทั้งที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดและมหาวิทยาลัยบอสตัน เนื่องจากมีการสืบเสาะแล้วพบว่าปัจจุบันทพญ.ดลฤดีทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน โดยส่งไปแห่งละ 2 ครั้ง แต่ปรากฎว่า ผู้ถูกกล่าวดทษ ไม่มีให้คำให้การและมิได้ทำหนังสือชี้แจงกล่าวโทษ Source: komchadluek