Pattaya One News
Home » “ไข้เลือดออก” กับ 4 อาการเด่น-ความรุนแรงของโรคที่ควรสังเกต
ALL THAI NEWS ไลฟ์สไตล์

“ไข้เลือดออก” กับ 4 อาการเด่น-ความรุนแรงของโรคที่ควรสังเกต

ไข้เลือดออกคือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ในประเทศไทยไวรัสเดงกี่เป็นเชื้อที่ก่อโรค จึงชื่อว่าไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Haemorrhagic Virus) มีรายงานครั้งแรกใน พ.ศ. 2501  ปัจจุบันไข้เลือดออกเดงกี่พบการติดเชื้อได้ในหลายประเทศ ในประเทศไทยแต่ละปีมีรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อหลายหมื่นจนถึงแสนราย โรคนี้พบมากในฤดูฝน ช่วงพฤษภาคมถึงกันยายน พบในเด็กอายุ 5-9 ปีมากที่สุด รองลงมา 10-14 ปี แรกเกิดถึง 4 ปี และ15 ปีขึ้นไป ตามลำดับ มีจำนวนทั้งชายและหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกัน และยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและวงการแพทย์ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายมี 2 ชนิด ได้แก่ยุงลายสวนและยุงลายบ้าน ที่พบกันบ่อยที่สุดคือยุงลายบ้าน พบในบ้าน บริเวณรอบบ้าน มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Aedes Aegypti และเป็นยุงลายเพศเมีย หากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ในน้ำนิ่งที่ค่อนข้างสะอาด และเชื้อไวรัสจะอยู่ในตัวยุงได้ตลอดชั่วชีวิตของยุงตัวนั้นประมาณ 1-2 เดือน

อาการเด่นๆ หลังรับเชื้อไวรัสเดงกี่ เข้าสู่ร่างกายได้ 5-8 วัน อาการของโรคจะปรากฏขึ้น มี 4 ระดับ

  1. ไข้สูงลอยนาน 2-7 วัน
  2. มีอาการเลือดออกบ่อย โดยมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง
  3. ภาวะตับโต สามารถคลำบริเวณใต้ชายโครงขวา และเมื่อกดแล้วจะเจ็บ
  4. ภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลว และอาจเกิดภาวะช็อค


อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออก

เด็กผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีไข้สูงเฉียบพลัน หน้าแดง ปวดศรีษะ ปวดเมื่อย ต่อมาจะพบเลือดออกตามลำตัว แขน ขา และมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง  ไม่ดื่มน้ำ ซึม นอนนิ่ง ไม่พูดคุย บางคนเลือดกำเดาออก ถ่ายเป็นสีดำ อาเจียนมีเลือดปน และมักไม่แสดงอาการหวัด ไม่ไอ ช่วงอันตรายจะอยู่ช่วงไข้เริ่มลง 2-7 วัน โดยทั่วไปจะพบภาวะช็อคหรือเสียชีวิตไม่มากมีเพียงร้อยละ 2-3 มีอาการมือเท้าเย็น กระสับกระสาย ชีพจรเต้าเร็ว เบา หากแรงดันเลือดตกจนถึงขั้นช็อคอาจเสียชีวิต แต่ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกสามารถรักษาได้ผลดีถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มต้น

ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

ระดับความรุนแรงของไข้เลือดออกมี 4 ระดับ

ระดับ 1 : ไข้สูง แต่ยังจะไม่พบจุดเลือดออก โดยระดับนี้สามารถดูและเบื้องต้นด้วยการเช็ดตัวบ่อยๆ ดื่มน้ำเยอะๆ

ระดับ 2 : ระยะนี้ถ้าผู้ป่วยยังสามารถทานอาหาร ดื่มน้ำได้ ยังไม่ต้องมาโรงพยาบาล

(แต่ถ้าทานและดื่มไม่ได้ให้พามานอนโรงพยาบาล เพื่อตรวจและดูแลอย่างใกล้ชิด)

ระดับ 3 : พบชีพจรที่เบาและเร็ว มือเท้าเย็น หน้าซีด กระสับกระส่าย นั่นแสดงว่ามีวามดันเลือดต่ำมาก ให้รีบพามา

โรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์และตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

ระดับ 4 : แรงดันเลือดตกมาก ไม่สามารถวัดค่าได้ หรือการเกิดภาวะช็อค ซึ่งอาการระดับนี้เกิดขึ้นให้รีบพามาโรงพยาบาลในทันที

การวินิจฉัยไข้เลือดออก

เมื่อได้พบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติการป่วย ตรวจร่างกาย และทำการตรวจเลือด ณ ห้องปฏิบัติการ อย่างละเอียด

การป้องกันไข้เลือดออก

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัด
  • กำจัดหรือลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น แหล่งที่มีน้ำขังนิ่งและสะอาด

การรักษาไข้เลือดออก

  • หมั่นเช็ดตัว ดื่มน้ำบ่อยๆ
  • ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล (ห้ามให้แอสไพริน บูเฟน เพราะจะทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดเสียไป)
  • ผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลแต่เนื่นๆ จะช่วยลดภาวะ เลือดออก และช็อค ที่แทรกซ้อนได้

Cr.Sanook

Pattaya One New Thailand, your go-to source for global and local news, alongside effective business advertising opportunities, tailored to the vibrant city of Pattaya.
Translate »