Pattaya One News
Home » ไข้เลือดออกสายพันธุ์ “เดงกี่” ระบาด ไข้สูงเฉียบพลัน-มีจุดเลือดตามตัว ควรพบแพทย์
ALL THAI NEWS ไลฟ์สไตล์

ไข้เลือดออกสายพันธุ์ “เดงกี่” ระบาด ไข้สูงเฉียบพลัน-มีจุดเลือดตามตัว ควรพบแพทย์

ไข้เลือดออกระบาดหนัก 389 อำเภอ เสี่ยงอีก 198 อำเภอ อธิบดีคร. เผย ปีนี้เป็น “เดงกี่สายพันธุ์ดุ” ร้ายสุดในบรรดาเชื้อก่อโรค ล่าสุดดับ 30 ราย รอสอบสวนการตายอีก 13 ราย ขอทุกฝ่ายร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อย่าให้ยุงกัด วอน คลินิก-ร้านขายยาเลี่ยงจ่ายยากลุ่ม “เอ็นเสด”

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า มีการคาดการณ์มาตั้งแต่ต้นปี 2562 แล้วไข้เลือดออกจะมีการระบาดหนัก โดยอาจมีผู้ป่วยมากถึงแสนกว่าราย แต่มีสถานการณ์ที่น่ากังวลมากขึ้นเพราะว่าสภาพอากาศเมืองไทยเปลี่ยนแปลง ทำให้ตอนนี้มีผู้ป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปี มาตั้งแต่เดือนม.ค. , ก.พ. ล่าสุดมีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปี ถึงปัจจุบัน ประมาณ 2.3 หมื่นราย เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว 30 ราย และยังอยู่ระหว่างสอบสวนโรคว่าเสียชีวิตเพราะไข้เลือดออกหรือไม่อีก 13 ราย นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงในตอนนี้คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน โดยเฉพาะอีสานใต้ เขตสุขภาพที่ 9 และเขตฯ 10 อย่างที่จังหวัดอุบลราชธานีก็มีผู้ป่วยเสียชีวิตติดกันหลายราย นอกจากนี้ยังมี ภาคตะวันออก กรุงเทพ และปริมณฑล เป็นต้น

“ที่น่าเป็นห่วงคือจากการตรวจสอบพบว่าโรคไข้เลือดออกที่พบในปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสเดงกี่สายพันธุ์ที่ 2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากที่สุดใน 4 สายพันธุ์ ยิ่งหากเป็นการป่วยไข้เลือดออกครั้งที่ 2 จะยิ่งมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคมากขึ้น”

หากประชาชนมีไข้สูงลอย นาน 2 วันยังไม่ลดให้รีบไปพบแพทย์ และถึงแม้ไข้ลดแล้วก็ต้องดูด้วยว่าสภาพร่างกายผู้ป่วยเป็นอย่างไร ซึมลง ไม่มีเรี่ยวแรง หรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ให้รีบกลับไปพบแพทย์ ไปซ้ำได้ อย่างไรก็ตามขอความร่วมมือคลินิก ร้านขายยา หากเจอผู้ป่วยไข้สูง ขอให้หลีกเลี่ยงการจ่ายยากลุ่มเอ็ดเสด เพราะเสี่ยงทำให้เลือดออก เสียชีวิตได้ และขอทุกฝ่ายช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วย

จากเอกสารรายงานของกรมควบคุมโรค ข้อมูลเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 พบว่า อำเภอที่มีผู้ป่วยมากกว่า 50 ราย และสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 4 สัปดาห์ คือ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ป่วย 132 ราย อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ป่วย 70 ราย อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ป่วย 94 ราย และ อ.เกาะช้าง จ.ตราด ป่วย 54 ราย สำหรับพื้นที่พบผู้ป่วยทั่วประเทศในระดับสีแดง มีทั้งสิ้น 389 อำเภอ พื้นที่เสี่ยง สีเหลือง 198 อำเภอ

โรคไข้เลือดออก สายพันธุ์เดงกี่ เป็นอย่างไร?

โรคไข้เลือดออก สายพันธุ์เดงกี่ หรือโรคไข้เลือดแดนกี่ เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Aedes aegyti) มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะ ไปกัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเชื้อโรคจะไปอยู่ที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง และเมื่อยุงไปกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน ซึ่งเชื้อจะอยู่ในร่างกายประมาณ 2-7 วัน ก็จะแสดงอาการของโรคขึ้น ส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็ก โดยอาการของโรคไข้เลือดออกไม่จำเพาะ ในเด็กเท่านั้นแต่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้ใหญ่ได้อีกด้วย ลักษณะอาการของโรคไข้เลือดออกแดนกี่จะมีอาการไข้และมีผื่นในเด็กส่วนผู้ใหญ่อาจมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากให้การรักษาช้า อาจเสียชีวิตได้


อาการของโรคไข้เลือดออก สายพันธุ์เดงกี่

ลักษณะสำคัญของโรคนี้ คือ

  1. ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ 2-7 วัน
  2. เบื่ออาหาร
  3. หน้าแดงปวดศีรษะร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน
  4. อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  5. บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา
  6. อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน
  7. ถ่ายอุจจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
  8. ในรายที่ช็อกจะสังเกตได้จากการที่ให้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

วิธีป้องกันไข่เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

  1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่น กะลา ยาง กระป๋อง จานรองตู้กับข้าว หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถัง
  2. ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำหรือใส่ทรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำ ใส่ปูนแดง หรือลูกมะกรูด
  3. ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงชุกชุม และทายากันยุง
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ขอบคุณ Sanook

Please follow and like us:
Global news and Local news in Thailand and Pattaya with Business advertising
Translate »